บทความ

การรับเสียงของ Microphone ประเภทต่างๆ

โดย Millionhead ในวันที่ 25 มิ.ย. 2565, 17:11 น.

image

การรับเสียงของ Microphone ประเภทต่างๆ

 

ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณเสียง (Sound wave) จากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ เช่น เสียงพูด, เสียงร้อง รวมไปถึงเสียงเครื่องดนตรี ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และส่งผ่านสายนำสัญญาณไปยังเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายสัญญาณและกระจายสัญญาณนั้นๆ ออกมาทางลำโพง เพื่อให้กำเนิดสัญญาณในรูปแบบของ “เสียง” ที่เราได้ยินนั่นเอง

 

เมื่อพูดถึงไมโครโฟน เราจะต้องนึกถึงรูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟนตามมาด้วย ซึ่งแน่นอนว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น โลกของเราได้พัฒนาไมโครโฟนเพื่อรับเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ มาอย่างหลากหลาย ตามแต่เทคโนโลยีในสมัยนั้นจะเอื้ออำนวยให้ ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีรูปแบบการรับเสียงที่แตกต่างกันออกไป

 

ในวันนี้แอดมินจะพามาทำความรู้จักกับไมโครโฟนประภทต่างๆ พร้อมรูปแบบการรับเสียงของไมค์แต่ละตัวกัน

 

ไมโครโฟนชนิดไดนามิค (Dynamic Microphone)

 

เป็นไมโครโฟนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ด้วยคุณภาพเสียงที่มีความใกล้เคียงความเป็นธรรมชาติ และความคงทนสูง มีการใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน สะดวก เหมาะกับการใช้งานแทบทุกประเภท เช่น งานทัวร์คอนเสิร์ต, งานอิเว้นท์, งานประชุม, งานสัมมนา เป็นต้น

 

ไมโครโฟนชนิดนี้ ส่วนมากมีรูปแบบการรับเสียงแบบ คาร์ดิออย (Cardioid Directional)

ซึ่งมีความสามารถในการรับเสียงจากด้านหน้าได้ดีที่สุด และรับเสียงจากด้านหลังได้น้อยมาก หรืออาจไม่ได้เลย และมีความสามารถในการลดเสียงรบกวนได้ดี ถือเป็นรูปแบบการรับเสียงที่นิยมใช้งานในระบบกลางแจ้ง หรือในห้องสตูดิโอก็ทำได้ดีเยี่ยม

 

ไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ (Condensor Microphone)

 

เป็นไมโครโฟนที่จำเป็นต้องใช้ไฟเลี้ยงวงจรเวลาใช้งาน จึงทำให้มีความไวในการรับเสียงมากเป็นพิเศษ ตอบสนองย่านความถี่ได้อย่างชัดเจน ครบถ้วน โดยเฉพาะย่านความถี่กลางไปถึงสูง ให้เสียงที่ใส กังวาน แต่ข้อเสียคือด้วยความที่รับเสียงได้ไวมาก จึงทำให้เกิดเสียงรบกวน (Noise) ได้ง่าย เหมาะกับการใช้งานในห้องบันทึกเสียง โดยในปัจจุบัน ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์จัดเป็นไมโครโฟนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยความที่ตัวไดอะแฟรมสามารถลดขนาดให้มีขนาดที่เล็กมากๆ จึงเกิดการประยุกต์ใช้จนเกิดเป็น ไมค์ประชุม หรือไมค์หนีบปกเสื้อ ที่ประยุกต์ใช้กับงานได้อีกหลากหลาย

 

ไมโครโฟนชนิดนี้ สามารถรองรับการใช้งานเกือบทุกประเภท จึงทำให้มีรูปแบบการรับเสียงที่หลากหลาย โดยบางรุ่น สามารถปรับรูปแบบการรับเสียงได้อีกด้วย โดยมีรูปแบบการรับเสียง ดังนี้

 

รูปแบบการรับเสียงแบบ คาร์ดิออย (Cardioid Directional)

ซึ่งมีความสามารถในการรับเสียงจากด้านหน้าได้ดีที่สุด และรับเสียงจากด้านหลังได้น้อยมาก

 

รูปแบบการรับเสียงแบบ ไบไดเรคชั่นแนล (Bi-directional) หรือ (Figure 8)

มีความสามารถในการรับเสียงทั้งด้านหน้าและด้านหลังของไมโครโฟนที่เท่ากันในระดับ 90 องศา และกว้าง 90 องศาเท่ากัน มีการรับเสียงจากด้านข้างได้น้อยมาก

 

รูปแบบการรับเสียงไมค์แบบ ออมนิไดเรคชั่นแนล (Omni Directional)

เป็นรูปแบบที่มีความสามารถในการรับเสียงได้แบบรอบทิศทาง มีการตอบสนองย่านความถี่เสียงที่กว้างและชัดเจน แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ไมโครโฟนมีโอกาสเกิดเสียงหอนได้ง่าย จึงไม่นิยมนำมาใช้ในงานกลางแจ้ง

 

ไมโครโฟนชนิดคาร์บอน (Carbon Microphone)

 

เป็นไมเป็นไมโครโฟนยุคแรกๆ แห่งวงการไมโครโฟน โดยคุณภาพเสียงของไมโครโฟนชนิดนี้จะตอบสนองความถี่ อยู่ในช่วงความถี่ที่แคบและจำกัด (ตอบสนองอยู่ในช่วงความถี่ต่ำ) ทำให้คุณภาพเสียงไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งมีระดับการรบกวนที่สูง

 

ปัจจุบัน ไม่พบการใช้งานแล้ว เนื่องจากถูกแทนที่ด้วยไมโครโฟนไดนามิค และคอนเดนเซอร์ไมโครโฟน ที่มีคุณภาพสูงกว่า และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

 

ไมโครโฟนชนิดนี้ มีรูปแบบการรับเสียงแบบ คาร์ดิออย (Cardioid Directional)

ซึ่งมีความสามารถในการรับเสียงจากด้านหน้าได้ดีที่สุด และรับเสียงจากด้านหลังได้น้อยมาก หรืออาจไม่ได้เลย

 

ไมโครโฟนชนิดริบบอน (Ribbon Microphone)

 

เป็นไมโครโฟนไดนามิคชนิดหนึ่ง ที่ไม่ต้องการไฟมาเลี้ยงวงจรแต่อย่างใด ให้คุณภาพเสียงที่มีรายละเอียดสูง มีความใสและมีความกังวานของหางเสียง และค่อนข้างให้ความเป็นธรรมชาติมากๆ แต่ไมค์ประเภทนี้ก็มีความ”เปราะบาง” มากที่สุดในบรรดาไมค์ทุกชนิด การรับเสียงที่ดังมากเกินในบางครั้ง หรือทำหล่นเพียงครั้งเดียว ก็อาจจะทำให้แผ่นริบบอนขาดและเสียหายได้ แต่ปัจจุบันก็มีการพัฒนาให้มีความทนทานมากยิ่งขึ้น

 

ไมโครโฟนชนิดนี้ ส่วนมากมีรูปแบบการรับเสียงแบบ คาร์ดิออย (Cardioid Directional)

ซึ่งมีความสามารถในการรับเสียงจากด้านหน้าได้ดีที่สุด และรับเสียงจากด้านหลังได้น้อยมาก หรืออาจไม่ได้เลย

 

แต่ในบางรุ่นก็สามารถมีรูปแบบการรับเสียงแบบ ไบไดเรคชั่นแนล (Bi-directional) หรือ (Figure 8) ได้

คือมีความสามารถในการรับเสียงทั้งด้านหน้าและด้านหลังของไมโครโฟนที่เท่ากันในระดับ 90 องศา และกว้าง 90 องศาเท่ากัน และมีการรับเสียงจากด้านข้างได้น้อยมาก

 

ไมโครโฟนชนิดคริสตอล (Crystal Microphone)

 

ไมโครโฟนประเภทนี้มีแร่คริสตอลเป็นตัวกำเนิดกระแสไฟฟ้า โดยจะรับแรงสั่นสะเทือนจากคลื่นของเสียงทางไดอะแฟรม ได้แรงดันไฟฟาสูงกว่าไมโครโฟนชนิดอื่นๆ จึงมีค่าอิมพิแดนซ์ที่สูง ไมโครโฟนชนิดนี้ตอบสนองความถี่ย่านเสียงกลางได้ดี แต่จะเสียหายได้ง่ายจากความชื้นหรือความร้อน ในปัจจุบัน ไม่พบการใช้งานแล้ว

 

ไมโครโฟนชนิดนี้มีรูปแบบการรับเสียงแบบ คาร์ดิออย (Cardioid Directional)

ซึ่งมีความสามารถในการรับเสียงจากด้านหน้าได้ดีที่สุด และรับเสียงจากด้านหลังได้น้อยมาก หรืออาจไม่ได้เลย

 

ไมโครโฟนชนิดเซอร์รามิค (Ceramic Microphone)

 

เป็นไมโครโฟนที่มีลักษณะการออกแบบ หรือหลักการทำงานคล้ายๆ กับไมโครโฟนชนิดคริสตัล ต่างกันที่วัสดุเซรามิคมีคุณภาพดีกว่าคริสตัล และมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของความชื้น และอุณหภูมิมากกว่า แต่ปัจจุบันก็ไม่พบเห็นใช้งานแล้ว

 

ไมโครโฟนชนิดนี้มีรูปแบบการรับเสียงแบบ คาร์ดิออย (Cardioid Directional)

ซึ่งมีความสามารถในการรับเสียงจากด้านหน้าได้ดีที่สุด และรับเสียงจากด้านหลังได้น้อยมาก หรืออาจไม่ได้เลย

 

โดยสรุป

 

ไมโครโฟนชนิดที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันจะเหลือแค่ 2 ชนิด คือแบบ ไดนามิก (Dynamic) เป็นชนิดของไมโครโฟนที่จะให้คุณภาพเสียงที่ใกล้เคียงเสียงจริงที่สุด และ คอนเดนเซอร์ (Condenser) เป็นชนิดที่มีความไวในการรับเสียงมาก เสียงที่ได้จะมีความใส และใกล้เคียงเสียงจริงเช่นกัน แต่จะมีจุดด้อยที่ชนิดของไมโครโฟนแบบ คอนเดนเซอร์ คือต้องมีไฟเลี้ยงวงจรไฟฟ้าเวลาใช้งานนั่นเอง

 

ส่วนรูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟน โดยส่วนใหญ่จะเป็นแบบ คาร์ดิออย (Cardioid Directional) เพราะมีความสามารถในการลดเสียงรบกวนได้ดี ถือเป็นรูปแบบการรับเสียงที่นิยมใช้งานในระบบกลางแจ้ง และในห้องสตูดิโอมากที่สุด เหมาะกับการใช้งานแทบทุกประเภท เช่นงานคอนเสิร์ต, งานประชาสัมพันธ์, ห้องประชุม, งานอีเว้นท์ทั่วไป, งานพากย์เสียง และงานสตรีมมิ่งต่างๆ นั่นเอง

 

สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

Line@ : @millionheadpro
Facebook : millionheadpro
Instagram : millionheadpro